วันเปลี่ยนสารท



เรียนรู้

- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(4)
- วันขึ้นปีใหม่
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง

โปรแกรมทำนาย

- ทำนาย: ปีจร - ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง

Web Link

- tiantek.com - tiantekpro.com

เฮงเฮงเฮง
วันเปลี่ยนสารท

เหตุที่ผม(ศิษย์รุ่น 6) ต้องมาพูดถึงเรื่องนี้ เพราะ มันมีส่วนเกี่ยวข้องกับความแม่นยำในการตั้งดวงจีน
และแน่นอนครับ หากการตั้งดวงผิดพลาด เรื่องการทำนายคงไม่ต้องพูดถึง

สมมติผมถามท่านว่า คนที่เกิดในวัน(เดือนปี)เดียวกัน เช่น วันนี้ เป็นต้น
แท่งวันที่ใช้ตั้งดวงย่อมเหมือนกัน ตราบใดที่ยังไม่เลยเวลา 5 ทุ่ม (หลายท่านคงอยากทราบต่อว่า แล้วมันเกี่ยวอะไรกับเรื่องนี้) คำถามต่อมาเกี่ยวกับแท่งเดือน วันแรกของเดือนโง่ว(มะเมีย)ของทุกปี จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่และเวลาเท่าไร (ที่แน่ ๆ ไม่ใช่วันที่ 1 ของเดือน ในเวลา 0.00 น.แบบสากล)

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าเมื่อไร คำตอบ คือ เปิดปฏิทินร้อยปีนั่นเอง
เราเรียกวันแรกของแต่ละเดือนว่า "วันเปลี่ยนสารท"

(ภาพตัวอย่างจากปฏิทินร้อยปีของ อ.ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช)

จากภาพดูบริเวณภายในกรอบสีแดง ก็คือ วันและเวลาแรกของเดือน
ตัวอย่างกรอบทางด้านซ้าย หมายถึง วันที่ 6 ม.ค.2550 เวลา 01:32น. เข้าสู่เดือนทิ่ว (ฉลู) ปีเปี้ยสุก
ตัวอย่างกรอบทางด้านขวา หมายถึง วันที่ 4 ก.พ.2550 เวลา 13:14น. เข้าสู่เดือนเอี๊ยง หรือ อิ๊ง(ขาล) ปีเตงไห

เราถือว่า เดือนขาลเป็นเดือนแรกของปี ดังนั้น การเข้าสู่วันเปลี่ยนสารทในเดือนกุมภาพันธ์(เดือนขาล)
จึงเป็นเวลาที่เปลี่ยนจากเดือน ฉลูเป็นเดือน ขาล พร้อมกับ เปลี่ยนจากปีเปี้ยสุกเป็นปี เตงไหนั่นเอง

จากภาพดูบริเวณภายในกรอบสีแดง แต่ละเดือนจะมีวันเปลี่ยนสารทอยู่ 2 วัน บรรทัดบนเป็น"สารทใหญ่"
บรรทัดล่างเป็น "สารทเล็ก" (สรุปว่า เราใช้สารทใหญ่)


ตัวอย่างเปรียบเทียบของคน 2 คนที่เกิดวันเดือนปีเดียวกันและเวลาช่วงยามเดียวกัน ที่เกี่ยวข้องกับวันเปลี่ยนสารท


จากตัวอย่างสรุปว่า

1) โดยทั่วไป หากคน 2 คนเกิดวันเดือนปีเดียวกันและเกิดในช่วงยามเดียวกัน
     ดวงจีน 4 แท่งของคนทั้ง 2 ย่อมเหมือนกัน

2) ระมัดระวังการตั้งดวงในวันเปลี่ยนสารทนั่นเอง 

3) หากท่านที่เกิดในวันที่อยู่ห่างไกลจากวันเปลี่ยนสารท ความยุ่งยากที่กล่าวมาก็คงไม่มารบกวนจิตใจท่าน
    หรือ ท่านสามารถตั้งดวงจีนอย่างง่ายโดยอาศัยจากการดูปฏิทินรายวันของน่ำเอี๊ยงโดยศึกษาได้จาก Link นี้


ก่อนจบเพจนี้ ผมอยากบอกให้ทุกท่านทราบว่า หนังสือปฏิทินร้อยปีมักเป็นหนังสือที่แปลจากต่างประเทศ ดังนั้น เวลาเปลี่ยนสารทส่วนใหญ่ จึงมักเป็นเวลาท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย ท่านจึงไม่ต้องแปลกใจ หากเล่มหนึ่งแปลจากไต้หวันและอีกเล่มหนึ่งแปลจากประเทศจีน เวลาเปลี่ยนสารทที่เห็นจะไม่ตรงกัน

ถ้าต้องการทราบเวลาที่แน่นอน จำเป็นต้องใช้โปรแกรมทางดาราศาสตร์มาคำนวณ เพราะ บางโปรแกรมจะอ้างอิงข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างองค์การ NASA (ว่าไปนั่น!) แต่ขออนุญาตไม่กล่าวถึงรายละเอียดของการใช้โปรแกรมดังกล่าวในการคำนวณวันเปลี่ยนสารท

สรุปว่า ท่านสามารถตั้งดวงจีนด้วยเวลาเปลี่ยนสารทที่แม่นยำได้จาก http://www.tiantekpro.com หรือ http://www.tiantek.net โดยยึดเวลาประเทศไทยเป็นหลัก (จ.อุบลราชธานี)