พืช 5 สี(5 ธาตุ)



เรียนรู้

- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(4)
- วันขึ้นปีใหม่
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง

โปรแกรมทำนาย

- ทำนาย: ปีจร - ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง

Web Link

- tiantek.com - tiantekpro.com

เฮงเฮงเฮง
ก่อนหน้านี้ ผมได้เคยเกริ่นถึงเรื่องของสีซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธาตุทั้ง 5 ด้วย โดยในเพจนี้
จะกล่าวถึงพืชหรือ ก็คือ ผัก-ผลไม้ นั่นเองโดยสีสันของมันก็เป็นตัวบ่งบอกธาตุด้วย

ท่านเชื่อหรือไม่ว่า ถ้าเราพยายามหาความแตกต่างของผักและผลไม้ล่ะก็
มันก็อยู่หลายแนวคิดและยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...

แนวคิดที่ 1 - ผักและผลไม้ต่างกันตามโครงสร้างทางสัณฐานวิทยา ผลไม้จะมาจากโครงสร้างที่เป็นผลเท่านั้นส่วนผักมาจากส่วนต่างๆของพืช เช่น ใบ ดอก ลำต้น ราก หัวซึ่งงมีความต่างกันอย่างชัดเจน บังเอิญมีผักที่มาจากส่วนที่เป็นผลแต่นิยมบริโภคในรูปผักเช่น มะเขือเทศ มะระ ฟัก แฟง แตงกวา จึงแยกยากอย่างไรก็ตามก็ยังมีความต่างกันได้โดยอาศัยค่า Brix Acid Ratio หรือดูจากปริมาณน้ำตาลในผล ถ้ามีน้ำตาลสูงกว่า ร้อยละ 5 ขึ้นไปจัดว่าเป็นผลไม้ค่ะ หากมีน้ำตาลต่ำกว่าร้อยละ 5 จัดว่าผลนั้นเป็นผัก เช่นมะเขือเทศจะมีน้ำตาลอยู่ประมาณร้อยละ 2-3
นอกจากปริมาณน้ำตาลแล้วยังใช้ระดับ pH แสดงถึงความแตกต่างของผักและผลไม้ได้ด้วยถ้าระดับ pH สูงกว่า 5ขึ้นไป
จัดว่าผลนั้นเป็นผัก ถ้า pH ต่ำกว่า 5ลงไป จัดว่าเป็นผลไม้


แนวคิดที่ 2
๑. ผลไม้เป็นส่วนย่อยของผัก
-- ผลไม้เป็นส่วนผลของพืชเท่านั้น
-- ผักคือทุกส่วนตั้งแต่ ผล ราก ลำต้น ดอก ใบ

๒. กรณีเป็นผลเหมือนกันจะแยกอย่างไร
-- ผลไม้ต้องสามารถกินสด ๆ ได้เมื่อสุกเต็มที่ หมายถึงว่าไม่ต้องนำมาผ่านกรรมวิธีเชื่อม ดอง แช่อิ่ม

๓. อาจมีคนแย้งว่า แตงกวา มะเขือเทศ ก็กินสด ๆ ได้ ดังนั้นต้องมาดูถึงองค์ประกอบ (component)ผักจะมีองค์ประกอบเป็นน้ำ หรือคาร์โบไฮเดรตประเภทแข็ง (starch) อยู่สูง ส่วนผลไม้จะมีคาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลอยู่สูง กินแล้วจะมีรสหวานอร่อย


แนวคิดที่ 3 - ใช้กฎหมายตัดสิน
ดูเพิ่มเติม
https://blog.eduzones.com/racchidlom/52684



อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่อยากจะให้ท่านจดจำไว้ ก็คือ สีที่เป็นตัวแทนของแต่ละธาตุ
จะเกี่ยวข้องกับอวัยวะของแต่ละธาตุด้วย


จากใจ...ศิษย์รุ่นที่ 6 (ก.ย.2558)



ธาตุอวัยวะสีรสชาติ
ไม้ตับเขียวเปรี้ยว
ไฟหัวใจแดงขม
ดินม้ามเหลืองหวาน
ทองปอดขาวเผ็ด
น้ำไตดำเค็ม


หวังว่าท่านผู้อ่านที่ได้เคยติดตามเพจ"ดวงจีนกับสุขภาพ" ก็คงจะคุ้น ๆ ตารางนี้ดี
พืชพรรณธัญญาหารส่วนมากก็มักจะมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามตารางข้างต้น เช่น
พืชสีเขียว ก็จะมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องต่อตับ,
พืชสีแดง ก็จะมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องต่อหัวใจ(เช่น สตรอเบอรรี, มะเขือเทศ) เป็นต้น

ช่วงเดือนตุลาคม 2558นี้ หวังว่า ท่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับพืช 5 สีกับเทศกาลเจที่จะมาถึงนี้

ผมได้คัดสรรข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืช 5 สีซึ่งครอบคลุมเนื้อหาเพียงอ่านทั้ง 4 WebSiteนี้เท่านั้น
http://hilight.kapook.com/view/3028
http://health.kapook.com/view5380.html
http://health.kapook.com/view62160.html
hhttp://news.voicetv.co.th/infographic/119418.html


ท้ายนี้ผมขอแนะนำหลักในการทานอาหารที่ควรนำไปปฏิบัติ

1) ทานอาหารให้เป็นเวลา(แม้ว่าจะยังไม่รู้สึกหิว)

2) ทานอาหารให้ได้ปริมาณ 70-80% ของความอิ่มของท่าน(ต้องลองกะเกณฑ์)
ปล่อยให้หิวเกินไปก็จะทำลายกระเพาะอาหาร, ปล่อยให้อิ่มเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพการย่อยและการดูดซึมเสียไป

3) กินแต่อาหารว่างหรือขนมไม่เป็นมื้อ ส่งผลระยะยาว คือ ทำให้กระเพาะอาหารแปรปรวน

4) โบราณว่า "เช้ากินอย่างราชา กลางวันแค่ธรรมดา ตกเย็นเป็นยาจก"

ขออธิบายเพิ่มเติม
- ถ้าพูดถึงปริมาณที่ทาน เช้า-กลางวัน-เย็น(ก็เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยนั่นเอง)
- ถ้าเราเตรียมอาหารทั้ง 3 มื้อในแต่ละวันให้ตนเอง(โดยเรียงลำดับอาหารที่มีโภชนาการที่ดี มากไปหาน้อย) มื้อเช้าและกลางวันก็ คือ มื้อสำคัญ โดยเฉพาะมื้อเช้า(เวลา 辰 0700-0900) เป็นช่วงที่กระเพาะอาหาร ทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด ร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้มากกว่าเวลาตอนเย็น

5) ไม่ควรกินอาหารซ้ำซาก เพราะ...
- ไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่กินแล้วได้สารอาหารครบถ้วน
- หากอาหารนั้น มีฤทธิ์ร้อน หรือ เย็น ทานซ้ำซากเป็นเวลานาน ก็ทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้

หมายเหตุ - สงสารคนวัยทำงานถ้าได้อ่านทั้ง 5 ข้อนี้ (ก็หวังว่า ท่านจะปฏิบัติได้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ)