เรียนรู้
- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(4)
- วันขึ้นปีใหม่
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง
โปรแกรมทำนาย
- ทำนาย: ปีจร
- ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง
Web Link
- tiantek.com
- tiantekpro.com
|
คำนำ
สำหรับในตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการทำนายโรคโดยอาศัยทฤษฎีการหมุนเวียนของธาตุทั้ง 5และชี่ทั้ง 6
โดยอ้างอิงจากหนังสือภาษาไทยที่ชื่อว่า "ทำนายโรคจากดวงเกิด"
(ลิขสิทธิ์ภาษาไทยเป็นของสำนักพิมพ์อินสปายร์ในเครือสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์)
ส่วนหนังสือต้นฉบับนั้นชื่อว่า "算病" (Disease Prediction)
เขียนโดยนายแพทย์โหลวจงเลี่ยง นายกสมาคมเวชศาสตร์และสุขภาพ (แพทย์แผนจีนแห่งไต้หวัน)
ซึ่งท่านได้ใช้เวลาเกือบ 20 ปีศึกษาการแพทย์โบราณของจีน เช่น อี้จิง, หวงตี้เน่ย์จิง เป็นต้น
แล้วจึงนำมาสรุปเป็นทฤษฎี แล้วนำเสนอสูตรการบำรุงสุขภาพที่เหมาะกับสภาพร่างกายแบบต่าง ๆ ทั้งการกินอาหาร, การพักผ่อน, การออกกำลังกาย
โดยส่วนตัวผม(ศิษย์รุ่นที่ 6)เอง หลังจากได้อ่านแล้ว ก็ได้ยอมรับตามคำกล่าวอ้างของหนังสือที่ว่า
"เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์" ที่มีการจัดทำหนังสือนี้
ผมหวังว่า ผู้ที่ชื่นชอบศีกษาดวงจีน หรือใส่ใจการดูแลสุขภาพ ผมขอแนะนำหนังสือเล่มนี้นะครับ
และสุดท้ายนี้ ผมผู้จัดทำเพียงต้องการนำเสนอข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำนาย มาเผยแผ่เป็นวิทยาทานเพื่อ
การศึกษาเท่านั้น
จากใจ...ศิษย์รุ่นที่ 6 (มิ.ย.2558)
เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 6 บท แต่บทที่เกี่ยวข้องกับการทำนายมี 2 บท คือ
บทที่ 2 ป่วยด้วยโรคใด ชีวิตถูกกำหนดไว้แล้ว (第二章 容易生什麼病,命中註定)
สรุปสาระสำคัญอย่างกว้าง ๆ คือ โรคภัยไข้เจ็บนั้น
- 60% ถูกกำหนดมาตั้งแต่อยู่ในครรภ์(สภาพร่างกายก่อนกำเนิด)
- 40% อยู่ที่การดูแลสภาพร่างกายหลังกำเนิด
ไม่ว่าจะเป็น การกินอาหาร, การพักผ่อน, สภาพแวดล้อม, อุปนิสัยและอารมณ์
หมายเหตุ - บางท่านอาจเคยได้ยินมาว่า 60% ชะตาฟ้า, 40% เรากำหนดเอง ซึ่งก็เป็นสัดส่วนเดียวกันกับบทที่ 2
(ดังนั้น ผมจึงไม่เชือว่า 30ลิขิตฟ้า 70 ต้องฝ่าฟัน... อย่างที่คุณเจินเจินบอกนะครับ)
สรุปเลยละกันว่า เราต้องการผลลัพธ์อะไรจากการเรียนรู้เนื้อหาบทนี้
เราต้องการ
คำนวณสภาพร่างกายก่อนกำเนิดและอวัยวะที่อ่อนแอ เพียงทราบ วัน-เดือน-ปีเกิด (ดูตัวอย่างด้านล่าง)
การคำนวณสภาพร่างกายก่อนกำเนิด
กำหนดวัน | เดือน |
ปีเกิด | เวลาเกิด |
时 日 月 年
|
|
|
|
|
|
ปีเกิด |
ธาตุประจำปี |
ครึ่งปีแรก |
ครึ่งปีหลัง |
ชี่หลัก |
ชี่รอง |
|
|
|
|
|
|
|
①
太陽寒水 มีจำนวน
ครั้ง
②
少陽相火 มีจำนวน
ครั้ง +
少陰君火 มีจำนวน
ครั้ง
ดังนั้น
①
②
|
ผลการวินิจฉัย
1)
①
>
②
สภาพร่างกายค่อนไปทางหนาว และ หยางพร่อง
2)
①
<
②
สภาพร่างกายค่อนไปทางร้อน และ หยินพร่อง
3)
①
=
②
สภาพร่างกายเป็นกลางและมี 3 ประเภท
ก. ปีเกิดเป็นปีที่น้ำ(เกิน) จัดว่าเป็น กลาง ค่อนไปทางหยางพร่อง
ข. ปีเกิดเป็นปีที่ไฟ(เกิน) จัดว่าเป็น กลาง ค่อนไปทางหยินพร่อง
ค. กรณีอื่น...
ปีเกิดในครึ่งปีแรก(หมายถึง เดือน 寅, 卯, 辰, 巳,
午, 未) จัดว่า เป็นกลาง ค่อนไปทางหยินพร่อง
ปีเกิดในครึ่งปีหลัง(หมายถึง เดือน 申, 酉, 戌, 亥,
子, 丑) จัดว่า เป็น กลาง ค่อนไปทางหยางพร่อง
|
อวัยวะที่อ่อนแอแต่กำเนิด
ได้แก่
อันดับ 1 คือ
อันดับ 2 คือ
อันดับ 3 คือ
|
ื
วิธีคำนวณสภาพร่างกายก่อนกำเนิดให้ดูจากตารางดังนี้
ตาราง 2-1 สำหรับหาธาตุประจำปี จากหลักปี(ราศีบน)
หลักปี | 甲 | 乙 | 丙 | 丁 | 戊 | 己 | 庚 | 辛 | 壬 | 癸 |
ธาตุ | ดิน Δ | ทอง ∇ | น้ำ Δ | ไม้ ∇ | ไฟ Δ | ดิน ∇ | ทอง Δ | น้ำ ∇ | ไม้ Δ | ไฟ ∇ |
Δ หมายถึง เกิน , ∇ หมายถึง ขาด
ตาราง 2-2 ความสัมพันธ์ระหว่างชี่ทั้ง 6 และธาตุทั้ง 5
ชี่ทั้ง 6 | เดือน | ภูมิอากาศ | ธาตุ | อวัยวะที่กระทบ |
ชี่ที่ 1 | 寅,卯 | เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) | ลม | ไม้ (木) | ตับ (肝) |
ชี่ที่ 2 | 辰,巳 | เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) | ร้อน | ไฟ (火) | หัวใจ (心) |
ชี่ที่ 3 | 午,未 | เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火) | ร้อนอบอ้าว | ไฟ (火) | หัวใจ (心) |
ชี่ที่ 4 | 申,酉 | ไท่อินซือถู่ (太陰溼土) | ชื้น | ดิน (土) | ม้าม (脾) |
ชี่ที่ 5 | 戌,亥 | หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) | แห้งแล้ง | ทอง (金) | ปอด (肺) |
ชี่ที่ 6 | 子,丑 | ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水) | หนาว | น้ำ (水) | ไต (腎) |
ตาราง 2-3 ภูมิอากาศช่วงครึ่งปีแรกและครึ่งปีหลัง โดยดูจากหลักปี(ราศีล่าง)
ปี | 子,午 | 丑,未 | 寅,申 | 卯,酉 | 辰,戌 | 巳,亥 |
ครึ่งปีแรก | เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) | ไท่อินซือถู่ (太陰溼土) | เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火) | หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) | ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水) | เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) |
ครึ่งปีหลัง | หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) | ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水) | เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) | เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) | ไท่อินซือถู่ (太陰溼土) | เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火) |
ตาราง 2-4 หาชี่ประจำปี โดยดูจากหลักปี(ราศีบน)
ปี | 甲,己 | 乙,庚 | 丙,辛 | 丁,壬 | 戊,癸 |
ชี่ | ไท่อินซือถู่ (太陰溼土) | หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) | ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水) | เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) | เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) |
ตาราง 2-5 หาชี่หลัก โดยดูจากหลักเดือน(ราศีล่าง)
เดือน | 寅,卯 | 辰,巳 | 午,未 | 申,酉 | 戌,亥 | 子,丑 |
ชี่หลัก | เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) | เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) | เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火) | ไท่อินซือถู่ (太陰溼土) | หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) | ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水) |
ตาราง 2-6 หาชี่รอง โดยดูจากหลักปีและเดือน(ราศีล่าง)
ปี/เดือน | 寅,卯 | 辰,巳 | 午,未 | 申,酉 | 戌,亥 | 子,丑 |
子,午 | 39 | 410 | 115 | 126 | 17 | 28 |
丑,未 | 410 | 115 | 126 | 17 | 28 | 39 |
寅,申 | 115 | 126 | 17 | 28 | 39 | 410 |
卯,酉 | 126 | 17 | 28 | 39 | 410 | 115 |
辰,戌 | 17 | 28 | 39 | 410 | 115 | 126 |
巳,亥 | 28 | 39 | 410 | 115 | 126 | 17 |
หมายเหตุ
410 หมายถึง เจวี๋ยอินเฟิงมู่ (厥陰風木) , 115 หมายถึง เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火)
17 หมายถึง เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火) , 126 หมายถึง ไท่อินซือถู่ (太陰溼土)
28 หมายถึง หยางหมิงจ้าวจิน (陽明燥金) , 39 หมายถึง ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水)
จากนั้นก็ให้เปรียบเทียบปริมาณชี่(น้ำ)และชี่(ไฟ)
ถ้าชี่(น้ำ) มากกว่า ชี่(ไฟ)-สภาพร่างกายค่อนไปทางหนาวและหหยางพร่อง
ถ้าชี่(น้ำ) น้อยกว่า ชี่(ไฟ)-สภาพร่างกายค่อนไปทางร้อนและหยินพร่อง
ถ้าชี่(น้ำ) เท่ากับ ชี่(ไฟ)-สภาพร่างกายเป็นกลาง...(ดูประกอบ ผลการวินิจฉัย จากปุ่ม "คำนวณ")
หมายเหตุ
ชี่(น้ำ) หมายถึง ไท่หยางหานสุ่ย (太陽寒水)
ชี่(ไฟ) หมายถึง เซ่าอินจวินฮว่อ (少陰君火) และ เซ่าหยางเซี่ยงฮว่อ (少陽相火)
บทที่ 4 การทำนายเวลาเกิดโรค (第四章 精準預測疾病發作期)
จะมีตารางที่เกี่ยวกับ "อิทธิพลการหมุนเวียนชี่ที่ส่งผลต่ออวัยวะทั้ง 5"
(運氣與五臟紅
綠燈)
โดยในหนังสือจะเขียนทำนายไว้เฉพาะช่วงปี 2011(辛卯)-2020(庚子)เท่านั้น [ดูจากตารางท้ายเล่มของหนังสือ]
เสียดายที่หนังสือไม่ได้อธิบายถึงกฎเกณฑ์วิธีทำนายไว้แต่อย่างใด
ในบทนี้จะพูดถึงอวัยวะทั้ง 5(ดูควบคู่กับอวัยวะที่อ่อนแอแต่กำเนิด) ที่ควรต้องระมัดระวังในแต่ละปี แต่ละเดือน
สีที่เราจะไปดูในตารางทำนายนั้นมี 3 สีดังนี้
สีเขียว หมายถึง แสดงว่า ชี่ของช่วงนี้ ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย
สีเหลือง หมายถึง แสดงว่า ชี่ของช่วงนี้ มีผลกระทบต่อร่างกาย
สีแดง หมายถึง แสดงว่า ชี่ของช่วงนี้ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อาจถึงแก่ชีวิต
เลือกปี
| ชี่ที่ 1 | ชี่ที่ 2 | ชี่ที่ 3 | ชี่ที่ 4 | ชี่ที่ 5 | ชี่ที่ 6 |
เดือน | 寅,卯 | 辰,巳 | 午,未 | 申,酉 | 戌, 亥 | 子,丑 |
ตับ |
|
|
|
|
|
|
หัวใจ |
|
|
|
|
|
|
ม้าม |
|
|
|
|
|
|
ปอด |
|
|
|
|
|
|
ไต |
|
|
|
|
|
|
หมายเหตุ
หมายถึง อวัยวะที่อ่อนแอแต่กำเนิด (จะแสดงเมื่อกดปุ่ม "คำนวณ")
สุดท้ายนี้ ผม(ศิษย์รุ่นที่ 6)
ได้นำข้อมูลมาประมวลผลให้เห็นภาพรวมของการประเมินสภาพร่างกายก่อนกำเนิดในทุกรอบ 60 ปี พบว่า...
สภาพร่างกายค่อนไปทาง | คิดเป็นสัดส่วน |
หนาว และ หยางพร่อง | 17.22% |
ร้อน และ หยินพร่อง | 55.56% |
กลาง | 27.22% |
ก. ปีเกิดเป็นปีที่น้ำ(เกิน) จัดว่าเป็น กลาง ค่อนไปทางหยางพร่อง | 05.00% |
ข. ปีเกิดเป็นปีที่ไฟ(เกิน) จัดว่าเป็น กลาง ค่อนไปทางหยินพร่อง | 01.11% |
ค.กรณีอื่นๆ...ปีเกิดในครึ่งปีแรก(หมายถึง เดือน 寅, 卯, 辰, 巳,午, 未)
จัดว่า เป็นกลาง ค่อนไปทางหยินพร่อง | 9.44% |
ค.กรณีอื่นๆ...ปีเกิดในครึ่งปีหลัง(หมายถึง เดือน 申, 酉, 戌, 亥,子, 丑)
จัดว่า เป็น กลาง ค่อนไปทางหยางพร่อง | 11.67% |
แม้ว่าข้อมูลข้างต้นจะกล่าวถึงอิทธิพลของธาตุทั้ง 5และชี่ทั้ง 6
ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งของสภาพร่างกายก่อนกำเนิดมีผลถึง 60%
แต่ผมก็หวังให้ทุกท่านพยายามดูแลอีก 40% ที่เหลือให้ดีที่สุดนะครับ
|