วันขึ้นปีใหม่



เรียนรู้

- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(4)
- วันขึ้นปีใหม่
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง 

โปรแกรมทำนาย

- ทำนาย: ปีจร - ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง

Web Link

- tiantek.com - tiantekpro.com

เฮงเฮงเฮง
  
เริ่มแรก ตามจารีตของไทยแต่โบราณได้ถือเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นการสอดคล้องกับคติแห่งพุทธศาสนา ซึ่งถีอเอาฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี เหมือนหลายๆชาติที่ถือว่าฤดูเหมันต์หรือฤดูหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ด้วยว่าคนสมัยก่อนเห็นว่าฤดูหนาว เป็นช่วงผ่านพ้นจากฤดูฝนอันมืดครึ้ม สว่างเหมือนเวลาเช้า ส่วนฤดูร้อนเป็นช่วงที่สว่างเหมือนเวลากลางวัน และฤดูฝนเป็นเวลามืดหม่นคล้ายกลางคืน เขาจึงนับฤดูเหมันต์หรือซึ่งมักตรงกับเดือนอ้ายที่สว่างเหมือนเวลาเช้าเป็นต้นปี นับช่วงฤดูร้อนเป็นกลางปีและฤดูฝนเป็นปลายปี ต่อมา

ระยะที่สอง เราได้มีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ (ตรุษไทย) ซึ่งถึอตามปฏิทินทางจันทรคติ คือราวช่วงสงกรานต์ อันเป็นการเปลี่ยนจารีตไปตามคติพราหมณ์ที่นับวันตามจันทรคติ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์

ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าไทยได้ติดต่อกับประเทศต่างๆ มากขึ้น การใช้ปฏิทินทางจันทรคติไม่เหมาะสมและไม่สะดวกเพราะไม่ลงรอยกับปฏิทินสากล จึงประกาศให้ใช้วันทางสุริยคติตามแบบสากลแทน ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้นมา และถือเอาวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่

ระยะที่สี่ เมื่อถึงสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เห็นว่าไม่เหมาะสมเพราะประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ต่างก็ถือเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เมื่อไทยยอมรับปฏิทินสุริยคติตามแบบสากลแล้วก็ควรจะใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันเริ่มต้นปี เพื่อความสะดวกในการติดต่อกับประเทศต่างๆ จึงกำหนดให้ถือเอาวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา และให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาติ ให้ทางราชการ บริษัท ห้างร้านทั่วไป หยุดงานที่เคยทำประจำ ๒ วัน คือ วันที่ ๓๑ ธันวาคม วันสิ้นปีเก่า และ วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้น เราจึงมีวันขึ้นปีใหม่ตรงกับนานาประเทศ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา (เป็นผลให้ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เราจึงมีแค่ ๙ เดือนและปี ๒๔๘๔ มี ๑๒เดือน จากนั้นปีต่อๆมาก็มีปีละ ๑๒ เดือนตามปรกติ) ซึ่งมีเหตุผลว่าวันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด

อ้างอิงจาก กรมส่งเสริมวัฒนธรรม



ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นข้อมูลของวันปีใหม่นับแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน สำหรับเพจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ท่านผู้อ่าน
มีความเข้าใจในการตั้งดวงจีนที่เกี่ยวข้องกับ "ปีใหม่"นะครับ ขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจเป็นข้อ ๆ นะครับ

1> ถ้าท่านได้มีโอกาสลองตั้งดวงจีนให้กับผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ. 2484 อาทิ ถ้าเจ้าชะตาเขาบอกเราว่า
เขาเกิด 15 มี.ค. พ.ศ.2482 ถามเขาด้วยว่า ถัดจากเดือนที่เขาเกิดมาอีก 1 เดือนนั้นเป็นปี พ.ศ. 2483 ใช่หรือไม่?
ถ้าเขาตอบว่า "ใช่" ก็หมายความว่า วันเกิดของเขา ก็คือ วันที่ 15 มี.ค. พ.ศ.2482 นั่นเอง(ตามหลักปฏิทินสากล)

2> ที่แท่งปี หรือหลักปี ของการตั้งดวงจีนนั้น ในแต่ละปีจะอยู่ระหว่างวันที่ 3-5 กุมภาพันธ์(ส่วนใหญ่จะเป็นวันที่ 4 กุมภาพันธ์) ซึ่งจะหลักการคำนวณทางดาราศาสตร์โดยยึดดาว อาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งจะตรงกับวันที่ เราเรียกว่า "วันเปลี่ยนสารท" (ในแต่ละปีจะมีวันเปลี่ยนสารทอยู่ทั้งหมด 24 วัน ประกอบด้วย สารทใหญ่12 และสารทเล็ก 12)วันเปลี่ยนสารทที่เราคำนวณหาวันปีใหม่ของหลักปีนั้น ก็คือจุดเริ่มต้นของเวลาที่เปลี่ยนจากเดือน 丑 เป็นเดือน 寅 นั่นเอง จุดเปลี่ยนจากเดือนหนึ่งไปสู่อีกเดือนหนึ่ง ก็คือ 12 นักษัตรของแต่ละเดือน(สารทใหญ่ทั้ง 12)
สรุปก็คือ วันปีใหม่ของการตั้งดวงจีนในหลักปีนั้นถือเป็นวันหนึ่งของวันเปลี่ยนสารท(แต่วันเปลี่ยนสารท อาจไม่ใช่วันปีใหม่)

3> วันปีใหม่ของการตั้งดวงจีนในหลักปีนั้น ไม่ใช่วันตรุษจีน(วันตรุษจีนในแต่ละปีจะตรงกับ 1 ค่ำ เดือน 1 ของจีน)
ท่านสามารถค้นหาวันตรุษจีนของแต่ละปีได้จากปฏิทินร้อยปี ประเด็นนี้ก็เป็นเรื่องที่สับสนสำหรับผู้เริ่มต้นในการตั้งดวงอยู่บ่อยครั้ง
สรุปว่า วันตรุษจีนยึดหลักเกณฑ์ทางจันทรคติ ส่วนหลักปีของดวงจีนยึดหลักเกณฑ์ทางสุริยคติ

4> หลักการคำนวณหาวันและเวลาเปลี่ยนสารทนั้นมีเนื้อหาที่ยาวมาก(อาจจะมากกว่าเนื้อหาดวงจีนที่ท่านจะต้องเรียนในเว็ปเสียอีก)
จึงยังไม่ขอกล่าวถึงในเวลานี้

5> ส่วนเรื่องสุดท้ายที่เพิ่งนึกได้ ก็คือ ช่วงวันปีใหม่ หรือ วันตรุษจีน ซึ่งมีคนจำนวนมากไปไหว้เจ้าโดยเฉพาะผู้ที่มีนักษัตรซึ่งทางวัดระบุมาในแต่ละปี ท่านคงจะเคยเห็นหรือได้ยินได้ฟังมาบ้าง หลักเกณฑ์ที่เขาใช้ ก็คือ การดูหลักปีเกิดของท่าน ว่ามีการชง-เฮ้ง-ไห่-ผั่ว กับปีจรนั้น ๆ หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ปีจร คือ พ.ศ. 2557 (ตรงกับ ปีมะเมีย) หากท่านเกิดปีชวด ก็ถือว่า ชง, หากท่านเกิดปีมะเมีย ก็ถือว่า เฮ้ง,
หากท่านเกิดปีฉลู ก็ถือว่า ไห่, หากท่านเกิดปีเถาะ ก็ถือว่า ผั่ว เป็นต้น

ท่านสามารถดูรายละเอียดจากตารางข้างล่างนะครับ
(อ้างอิงจาก https://blessbox.wordpress.com/2012/07/22/ราศีล่าง/ชง-เฮ้ง-ไห่-ผั่ว)

เฮ้ง-ไห่-ผั่ว

มี 2 ประเด็นที่ผมอยากบอก คือ ประเด็นแรก ถ้าทางวัดมีการประกาศปีนักษัตรที่ควรไหว้มากกว่า 4 นักษัตร(ดูตาราง) ผมถือว่า เป็นเรื่องพาณิชย์ หากสังเกตจากในตารางให้ดี จะพบว่า บางปี จะมีเพียง 3 นักษัตรที่ ชง-เฮ้ง-ไห่-ผั่ว

ประเด็นที่ 2 คือ หากท่านเรียนดวงจีนและสามารถวิเคราะห์ได้แล้วว่า ธาตุใดให้คุณ/ให้โทษ อาทิ ดิถีของท่านเป็นธาตุไม้อ่อนแอ(ธาตุให้คุณ คือ ไม้-น้ำ-ทอง, ธาตุให้โทษ คือ ไฟ-ดิน)ในดวงของท่านมี (หลักใดก็ได้) และเผอิญว่า ปีจร คือ ปึ 2556 (คือ ) จะเห็นว่า (ดาวดี)ชน (ดาวร้าย) ให้ทายว่า "ดี"ซึ่งกรณีอย่างนี้ก็ไม่ต้องไปไหว้สะเดาะเคราะห์แต่อย่างใด, แต่ถ้าธาตุน้ำให้โทษ ก็ให้ทายว่า "ร้าย"ไปเลย

กรณีของชาวบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ได้ทราบหลักเกณฑ์ดังกล่าว ก็ต้องไหว้เอาไว้ก่อนเพื่อความสบายใจ โดยเฉพาะชง ถือว่าแรงที่สุดในจำนวน 4 ตัว( ชง คือ เกิดขึ้นรวดเร็ว, เปลี่ยนแปลง, โยกย้าย, พลัดพราก) ในแง่การทำนายแล้ว อ.เทียนเต็กท่านก็มิได้ให้ความสำคัญกับเฮ้ง-ไห่-ผั่ว นะครับขอบอก

หมายเหตุ - เฮ้ง คือ เบียดเบียน, ไห่ คือ ให้ร้าย, ผั่ว คือ แตกแยก