วันเปลี่ยนสารท (ภาคจบ)



เรียนรู้

- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3) - ดวงจีนกับสุขภาพ(4)
- วันขึ้นปีใหม่
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง

โปรแกรมทำนาย

- ทำนาย: ปีจร - ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง

Web Link

- tiantek.com - tiantekpro.com

เฮงเฮงเฮง
คำนำ

ผมอยากบอกผู้อ่านทุกท่านว่า คำว่า “วันเปลี่ยนสารท”นี่แหละ ที่ทำให้ผมได้หันมาสนใจโหราศาสตร์ภาคคำนวณโดยไม่รู้ตัว (คนส่วนใหญ่เมื่อพูดถึงโหราศาสตร์ต้องนึกถึงภาคทำนาย) ผมเก็บงำความสงสัยนี้มานานประมาณ 7-8 ปี เกี่ยวกับวันเปลี่ยนสารทว่า ทราบได้อย่างไรว่ามันต้องเปลี่ยนวันไหน เวลากี่โมง เพราะที่ผ่านมา อยากรู้ว่ามันเปลี่ยนในวันและเวลาใดก็ต้องเปิดปฏิทินร้อยปี ก่อนหน้านี้หากต้องการตั้งดวงโป้ยหยี่สีเถียวสามารถดูจากปฏิทินน่ำเอี๊ยงรายวัน (แต่ก็จะไม่มีระบุเวลาเปลี่ยนสารทแต่อย่างใด) พอเจอปฏิทินร้อยปีมากกว่า 1 เล่ม ซึ่งมันระบุเวลาเปลี่ยนสารทไม่ตรงกันเท่านั้นแหละครับ เลยไม่รู้ว่าจะเชื่อเล่มไหนดี และนั่นก็คือ จุดเริ่มต้นที่ผมบังเอิญได้มีโอกาสเรียนโหราศาสตร์ภาคคำนวณอยู่ประมาณ 1 ปีกว่า ๆ จาก อาจารย์พลตรีบุนนาค ทองเนียม (บรมครูโหราศาสตร์ภาคคำนวณของประเทศไทย) ซึ่งปัจจุบันท่านอายุ 92 ปีแล้ว (เราอย่าไปรบกวนท่านเลยนะครับ) สรุปว่า “ไปเรียนเพื่อต้องการทราบวิธีคำนวณวันและเวลาเปลี่ยนสารท” เพียงเพราะผมอยากจะตั้งดวงจีนให้ตรงเท่านั้น ผมหวังเพียงจะมาบอกเล่าเกร็ดความรู้เกี่ยวกับวันเปลี่ยนสารทให้ทุกท่านได้รู้เพิ่มเติมเท่าที่จะนึกออกนะครับ เชื่อว่า หลายท่านจะได้ประโยชน์จากบทความต่อไปนี้ไปไม่มากก็น้อยครับ

จากใจ...ศิษย์รุ่นที่ 6 (พ.ย.2561)



รูปต่อไปนี้เป็นตัวอย่างปฏิทินร้อยปีของ อ.ชัยเมษฐ์ เชี่ยวเวช

2 คำศัพท์แรกที่เราควรรู้จัก คือ
สารทใหญ่ หรือ 大寒 (แต้จิ๋ว อ่านว่า ไต่ฮั้ง, จีนกลาง อ่านว่า “ต้าหัน” Dàhán) มีจำนวน 12 สารท
สารทเล็ก หรือ 小寒 (แต้จิ๋ว อ่านว่า เซียวฮั้ง, จีนกลาง อ่านว่า “เสี่ยวหัน” Xiǎohán) มีจำนวน 12 สารท

ไม่ว่าจะสารทใหญ่หรือเล็ก ล้วนเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่งในที่นี้จะใช้ดาวอาทิตย์เพียงดวงเดียวเป็นจุดอ้างอิง(ตามหลักโหราศาสตร์สากล ระบบสายนะ(Tropical Zodiac)) บนท้องฟ้ามีค่าของมุมที่จุดศูนย์กลาง 360 องศา แบ่งออกเป็น 24 สารท ๆ ละ 15 องศา

สารท(ใหญ่)แรกชื่อว่า “ลิบชุน”(แต้จิ๋ว) หรือ “ลี่ชุน”(จีนกลาง) เริ่มต้นที่ลองติจูด 315 องศา
สารท(เล็ก)แรกชื่อว่า “อู๋จุ้ย”(แต้จิ๋ว) หรือ “อวี๋สุ่ย”(จีนกลาง) เริ่มต้นที่ลองติจูด 330 องศา
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Lichun
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Yushui_(solar_term)

ดังนั้น ทุก ๆ 15 องศา ก็จะเป็นสารทใหญ่และเล็กสลับกันไป หรือก็คือ หากเริ่มต้นที่ 315 องศา นับไปเรื่อย ๆ ทุก 30 องศา และคำนวณหาว่า ดาวอาทิตย์ที่ลองติจูด 345, 15, 45, 75, 105, 135, 165, 195, 215, 245, 275, 315 องศานั้นเป็นวันใด เวลาใด (นั่นคือ การหาเวลาเปลี่ยนสารทใหญ่นั่นเอง) ที่สำคัญท่านผู้อ่านต้องเข้าใจว่า ทุก ๆ 15 หรือ 30 องศา ดาวอาทิตย์มันไม่ได้ใช้ระยะเวลาเดินเท่าๆ กันแบบลำดับเลขคณิตนะครับ

เรามาดูวิธีอ่านวันเวลาในแต่ละสารทนะครับ ในที่นี้ผมใช้ https://en.wikipedia.org/wiki/Lichun นะครับ (315 องศา)
ในปี 2557 (甲午) เริ่ม 2015-02-03 22:03 ถึง 2015-02-18 17:59 ท่านผู้อ่านเห็น คำว่า “UTC” หรือไม่?

UTC = Coordinated Universal Time (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://th.wikipedia.org/wiki/เวลาสากลเชิงพิกัด)
หากต้องการเทียบเป็นเวลาประเทศไทย เราจึงต้องบวกไปอีก 7 ชั่วโมง
สรุปคือ ปี 2014 เข้าสู่ปีจอธาตุดิน ในวันที่ 4 ก.พ.2557 เวลา 05:03น. เดือนขาล

ในปีเดียวกัน ต้องการทราบว่า เดือนเถาะเริ่มวันและเวลาใด ก็เริ่มที่ 345 องศา ดูที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Jingzhe
เริ่ม 2014-03-05 16:02 บวก 7 ชั่วโมง --> 5 มี.ค.57 เวลา 23:02น. เดือนเถาะ

หมายเหตุ ผมพบว่าข้อมูลภาคภาษาอังกฤษ บางสารทยังไม่มีข้อมูลปีปัจจุบัน แนะนำให้ดูจากภาคภาษาจีนดีกว่าครับ
https://zh.wikipedia.org/wiki/立春

หากท่านสังเกตจาก Wikipedia ข้างต้นนั้น ช่วงห่างตัวเลข 30 องศาแต่ละสารทสัมพันธ์กับฤดูกาลทั้ง 4 ด้วย ส่วนสารทเล็กนั้นในดวงจีนเราไม่ได้ใช้ เท่าที่ผมทราบมานั้น”สารทเล็ก” จะใช้เป็นช่วงเวลาของการแบ่งกลุ่ม 12 ราศี อาทิ หากท่านอยู่ในราศีกุมภ์จะอยู่ในช่วงลองติจูดที่ 330-360 องศา หากไปอีกตั้งแต่ช่วง 0-30 องศาก็จะเป็นชาวราศีมีน เป็นต้น แต่การแบ่งกลุ่ม 12 ราศี นอกจากระบบสายนะแล้ว ก็ยังมีระบบนิรายนะ(Sidereal Zodiac) นะครับ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก https://th.wikipedia.org/wiki/โหราศาสตร์สากล