ดวงจีนกับสุขภาพ(4)



เรียนรู้

- 3หมวด 5ธาตุ คืออะไร
- ดวงจีนมีได้มากที่สุดกี่แบบ
- วันเปลี่ยนสารท
- วันเปลี่ยนสารท(ภาคจบ)
- เรียนรู้ 3หมวด 5ธาตุ
- เรียนรู้คู่สมพงศ์ ชง-ฮะ
- 4 แท่งเหมือน
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- ปุจฉา / วิสัชนา
- ถามมา/ตอบไป
- ดวงจีนกับสุขภาพ(1)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(2)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(3)
- ดวงจีนกับสุขภาพ(สรุป1+2+3) - วันขึ้นปีใหม่
- ดวงที่ไม่รู้เวลาเกิด
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่1)
- เรื่องผัวๆเมียๆ(ตอนที่2)
- นาฬิกาชีวิต
- พืช 5 สี (5 ธาตุ)
- เกร็ดความรู้หยินหยาง

โปรแกรมทำนาย

- ทำนาย: ปีจร - ทำนาย: คู่สมพงศ์ชง-ฮะ
- ทำนาย: การชั่งดวง

Web Link

- tiantek.com - tiantekpro.com

เฮงเฮงเฮง
คำนำ

หายไปนานสำหรับเพจ”ดวงจีนและสุขภาพ” สำหรับเพจนี้จะเป็นการต่อยอดความรู้จาก 3 ตอนแรกโดยผมพยายามสรุปความไว้ในแต่ละหัวข้อ และมีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ จึงหวังว่าเพจนี้จะถูกใจท่านผู้อ่านทุกท่านนะครับ

จากใจ...ศิษย์รุ่นที่ 6 (พ.ย.2561)


หลายท่านที่กำลังคิดจะหันมาดูแลสุขภาพ ก็อาจจะเริ่มคิดว่า อาหารใดควรทาน ไม่ควรทาน, จะหาเวลาเมื่อใดไปออกกำลังกายให้เป็นกิจจะลักษณะ บ่อยครั้งก็นั่งเล่นอินเตอร์เน็ตอยู่บ้านจนดึกดื่น บางท่านก็ตั้งใจจะหันมาดูแลสุขภาพโดยพยายามทำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา แต่มักจะทำอยู่ได้ไม่นาน ก็เริ่มจะกลับมาขี้เกียจเหมือนเดิม หากยังทำหลายอย่างไม่ได้ ก็เริ่มทำสักอย่างให้ได้จริง ๆ อย่างแรกเลยที่ท่านต้องพยายามทำให้ได้ คือ นอนแต่หัวค่ำ อย่างช้า 22:00-22:30 พบว่า ตัวท่านเองหลับไปแล้ว ขอให้ท่านผู้อ่านพยายามทำให้ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนบางวันที่ต้องกลับมานอนดึกก็ขอให้วันนั้นเป็นความสุดวิสัยจริง ๆ นะครับ ผมเชื่อว่า บางท่านที่นอนดึกบ่อย ๆ เพียงไม่กี่สัปดาห์จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเองที่ดีขึ้นนะครับ ดังนั้น เรื่องแรกที่ผมอยากจะพูดถึงที่สุด คือ “นาฬิกาชีวิต” สาระสำคัญโดยรวม คือ ขอให้ท่านกิน-นอน-ขับถ่าย-ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ละชั่วยามในแต่ละวัน (ลองไปทบทวนเรื่อง “นาฬิกาชีวิต” ของเก่าดูนะครับ) ค่อย ๆ ปรับกันไปทีละอย่าง 2 อย่างนะครับ

ผมขอยกตัวอย่างกรณีที่ 1 บางท่านเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคน รู้สึกว่าระบบย่อยไม่ค่อยจะดี ก็ควรปรับเปลี่ยนมาทานอาหารเช้าในเวลา 辰 (0700-0900) เพราะ เป็นช่วงเวลาที่ระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพสูงสุด และหันมาทานผักต้มซึ่งจะช่วยให้ระบบย่อยดีขึ้น

กรณีที่ 2 บางท่านรู้ตัวว่า หัวใจไม่ค่อยจะดี ดังนั้น หากจะออกกำลังกายบ้าง เวลาที่ไม่ควรออกกำลังกาย คือ เวลา 午(1100-1300) หรือ 戌 (1900-2100) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหัวใจ

นอกจากนี้เวลา 午 ยังเหมาะที่จะนอนหลับงีบสั้น ๆ (แต่อย่านอนมากไปจนทำให้นอนไม่หลับในเวลากลางคืน) เป็นต้น

มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวิต จากปรากฏการณ์สุริยคราสเต็มดวงในวันที่ 16 ก.พ.2523 (ตรงกับวันตรุษจีน) เกิดความมืดชั่วขณะซึ่งสามารถเห็นได้ในหลายพื้นที่ สถาบันแพทย์แผนจีนเมืองเซี่ยงไฮ้ พบว่า ขณะเกิดสุริยคราส จะพบผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ หูอื้อ ตามัวมากผิดปรกติ เขาอธิบายว่า ศีรษะเป็นศูนย์รววมของเส้นลมปราณพลังหยาง ดังนั้น ถ้าพลังหยางถูกรบกวน ศีรษะจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก

มีนักวิชาการที่ศึกษาการเกิดโรคระบาด พบว่า การระบาดใหญ่ของโรคสัมพันธ์กับจุดดับบนดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการระบาดใหญชองโรค 11 ครั้งและทุกครั้งมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของจุดดับบนดวงอาทิตย์


เรื่องถัดมาจะขอกล่าวถึงรสชาติและอารมณ์อันเกี่ยวข้องกับธาตุทั้ง 5
จากบทความก่อนหน้านี่ บางท่านหลังจากวิเคราะห์ดวงแล้วพบว่า ธาตุใดให้คุณหรือให้โทษต่อตนเอง จึงได้เสริมธาตุให้คุณของตนเองด้วยรสชาติ หรืออารมณ์ แต่ก็ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะ

รสเปรี้ยว(ธาตุไม้ :- ตับ, ถุงน้ำดี) มากเกินไปจะกระทบกระเทือนธาตุดิน (ม้าม, กระเพาะอาหาร)
รสเผ็ด(ธาตุทอง :- ปอด, ลำไส้เล็ก) มากเกินไปจะกระทบกระเทือนธาตุไม้ (ตับ)
รสหวาน(ธาตุดิน :- ม้าม, กระเพาะอาหาร) มากเกินไปจะกระทบกระเทือนธาตุน้ำ (ไต)
รสเค็ม(ธาตุน้ำ :- ไต) ) มากเกินไปจะกระทบกระเทือนธาตุไฟ (หัวใจ รวมถึงระบบประสาท)
รสขม(ธาตุไฟ :- หัวใจ) มากเกินไปจะกระทบกระเทือนธาตุทอง (ปอด)

หมายเหตุ รสจืดจัดอยู่ในรสใกล้เคียงกับรสหวาน, รสฝาดจัดอยู่ในรสใกล้เคียงกับรสเปรี้ยว


อารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ปุถุชน ประกอบด้วยอารมณ์ 7 อย่าง คือ ดีใจ, โกรธ, วิตกกังวล, โศกเศร้า-เสียใจ, กลัว-ตกใจ

ดีใจ เกี่ยวข้องกับหัวใจ-ลำไส้เล็ก --> ดีใจเกินไปทำลายหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนช้า
โกรธ เกี่ยวข้องกับตับ-ถุงน้ำดี --> โกรธมากเกินไปทำลายตับ ทำให้พลังวิ่งย้อนสู่เบื้องบน
วิตก-กังวล เกี่ยวข้องกับม้าม-กระเพาะอาหาร --> วิตกกังวลทำลายม้าม ทำให้พลังถูกอุดกั้น
โศกเศร้า-เสียใจเกี่ยวข้องกับปอด-ลำไส้ใหญ่ --> เสียใจเกินไปทำลายปอด ทำให้พลังสูญหาย
กลัว-ตกใจเกี่ยวข้องกับไต-กระเพาะปัสสาวะ --> กลัว-ตกใจเกินควรทำลายไต ทำให้พลังแปรปรวน(ตกใจ) พลังย้อนลงด้านล่าง(กลัว)


ในเพจ “ดวงจีนกับสุขภาพ(3)” ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างชี่ทั้ง 6 และธาตุทั้ง 5 แต่ในหนังสือ “ทำนายโรคจากดวงเกิด” ก็ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดของชี่ทั้ง 6 แต่เมื่อไม่นานมานี้บังเอิญได้พบตำราทฤษฎีแพทย์แผนจีนของสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ซึ่งได้อธิบายถึงเรื่องชี่ทั้ง 6 หรือ เส้นลมปราณทั้ง 6 ไว้ซึ่งผมขอสรุปความไว้พอสังเขปดังต่อไปนี้

โรคไท่หยาง (太陽)
มีหน้าที่ควบคุมส่วนนอกของร่างกาย ช่วยปกป้องคุ้มครองร่างกายจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดโรค ไท่หยางจะเป็นด่านแรกที่พบกับปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกจะต่อสู้กันบริเวณผิวหนัง ดังนั้นอาการสำคัญของโรค ได้แก่ กลัวหนาว, ตัวร้อน, เป็นไข้ ปวดเมื่อยต้นคอ, ชีพจรลอย, ฝ้าบนลิ้นขาวบาง

โรคหยางหมิง (陽明)
มักเกิดขึ้นต่อเนื่องจากโรคไท่หยาง ในเงื่อนไขที่ปัจจัยภายนอกยังไม่ถูกทำลาย ทำให้ร้อนแทรกซีมเข้าสู่ภายในจนถึงกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นผลให้ร้อนและหยางแกร่งขึ้น ซึ่งเป็นระยะที่โรคเกิดอาการร้อนมากที่สุด ตลอดจนมีการต่อสู้ระหว่างปัจจัยภายในและภายนอกอย่างรุนแรง หยางหมิงจะควบคุมส่วนนอกของร่างกายเฉพาะตรงกล้ามเนื้อและควบคุมส่วนในตรงกระเพาะอาหาร ดัวนั้น หยางหมิงจึงเป็นโรคที่เกี่ยวข้องทั้งเส้นลมปราณและอวัยวะภายใน

โรคเซ่าหยาง (少陽)
เซ่าหยางอาจมาจากไท่หยาง หรือเซ่าหยางโดยตรง อาการสำคัญมีปากขม คอแห้ง ตาลาย สะบัดร้อนสะบัดหนาว แน่นหน้าอก เบื่ออาหาร อึดอัด กระวนกระวาย อาเจียน ฝ้าบนลิ้นขาวลื่น ชีพจรตึง

โรคไท่อิน (太陰)
เป็นด่านแรกที่ต่อสู้กับปัจจัยภายนอก แต่ไม่ว่าโรคไท่อินเกิดจากเส้นหยาง หรือเกิดเองโดยตรงจะมีอาการสำคัญ คือ แน่นท้อง ปวดเป็นพัก ๆ อาเจียน ท้องร่วง กินไม่ได้ ไม่กระหายน้ำ ลิ้นซีด ฝ้าขาว ชีพจรช้า เบา

โรคเซ่าอิน (少陰)
เซ่าอินอาจติดต่อมาจากไท่หยาง หรือ ไท่อิน หรืออาจเกิดเพราะมีภาวะหยางพร่อง
เซ่าอินจะอยู่ระหว่างเจวี๋ยอินและไท่อิน ในเงื่อนไขที่แน่นอน จึงเปลี่ยนจากอินสู่สภาพเย็น หรือเปลี่ยนจากหยางสู่สภาพร้อน เวลามีโรคเข้าสู่เซ่าอิน

โรคเจวี๋ยอิน (厥陰)
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของโรคเส้นอินทั้งสาม เป็นระยะสุดท้ายที่ปัจจัยภายในและภายนอกต่อสู้กันซึ่งจะเป็นสภาพที่ปัจจัยภายในอ่อนแอมาก อิน-หยางจึงเสียสมดุล (เจวี๋ย หมายถึง อาการแขนขาเย็น)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและภาพประกอบนะครับ http://www.shen-nong.com/chi/exam/diagnosis_sixmeridians.html

ชี่ทั้ง 6 นั้นแยกเป็นส่วนมือและเท้าซึ่งเกี่ยวพันกับนาฬิกาชีวิตใน 12 ชั่วยามของแต่ละวัน
และ 2 คำศัพท์ที่ควรรู้จัก คือ 手(อ่านว่า โฉ่ว Shǒu) หมายถึง มือ, 足(อ่านว่า จู๋ Zú) หมายถึง เท้า

ดูภาพประกอบจาก http://www.shen-nong.com/chi/principles/distributionmeridians.html
หรือ http://sun-fright.blogspot.com/2015/12/blog-post_13.html